LEADER : 00000nam 2200000uu 4500 |
008 131212s2551||||th m 000 0 tha d |
050 4 ^aKPT3844.A9^bศ113 2551
|
100 0 ^aศกุนา เก้านพรัตน์
|
245 10 ^aมาตรการทางกฎหมายสำหรับผู้ที่มีสภาพจิตไม่ปกติ :^bศึกษากรณีการดำเนินคดีอาญา การรับโทษทางอาญา และการคุ้มครองสังคม /^cศกุนา เก้านพรัตน์
|
246 31 ^aLegal measure for mental disorders : study of criminal procedure, criminal liability and social protection
|
260 ^aกรุงเทพฯ :^bคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ^c2551.
|
300 ^aก-ฌ, 215 แผ่น ;^c30 ซม.
|
502 ^aวิทยานิพนธ์ (น.ม. นิติศาสตร์) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
|
520 ^aวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ศึกษาเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายสำหรับผู้ที่มีสภาพจิตไม่ปกติ ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งได้กำหนดมาตรการทางกฎหมายในการดำเนินคดีอาญากับผู้ที่มีสภาพจิตไม่ปกติที่ต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมรวมทั้งได้ศึกษาพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 ซึ่งกำหนดมาตรการทางกฎหมายในการบำบัดรักษาผู้ที่มีสุขภาพจิตไม่ปกติ ทั้งก่อน และหลังจากมีการกระทำความผิดอาญาเกิดขึ้น กล่าวคือ เป็นการคุ้มครองผู้ที่มีสภาพจิตไม่ปกติ ซึ่งมีภาวะอันตราย และผู้มีสภาพจิตไม่ปกติที่ต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมให้ได้รับการบำบัดรักษา เพื่อคุ้มครองสังคมจากภยันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากผู้มีสภาพจิตไม่ปกติดังกล่าว อย่างไรก็ตาม แม้จะมีมาตรการทางกฎหมายสำหรับผู้ที่มีสภาพจิตไม่ปกติดังกล่าวแล้ว แต่ในทางปฏิบัติก็ยังมีปัญหา และข้อขัดข้องทางด้านการบังคับใช้กฎหมายแก่ผู้ที่มีสภาพจิตไม่ปกติอยู่หลายประการ ได้แก่ การแยกแยะผู้ต้องหาหรือจำเลยที่เป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้ การควบคุมตัวและการปล่อยชั่วคราวของผู้ต้องหาหรือจำเลยที่มีสภาพจิตไม่ปกติ การตรวจสอบการใช้อำนาจของพนักงานสอบสวน การใช้มาตรการทางกฎหมายในชั้นพนักงานอัยการ การไม่ได้ยกเหตุว่าจำเลยเป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้ขึ้นกล่าวอ้างในศาลชั้นต้น การบังคับโทษกักขังแก่ผู้ต้องโทษที่มีสภาพจิตไม่ปกติ การส่งตัวผู้ต้องโทษที่มีสภาพจิตไม่ปกติไปรับการรักษาขณะทุเลาการประหารชีวิต ตลอดจน กรณีการคุ้มครองสังคมให้ปลอดภัยจากภยันตรายที่อาจเกิดขึ้นโดยผู้มีสภาพจิตไม่ปกติที่ยังไม่ได้กระทำความผิด และโดยผู้มีสภาพจิตไม่ปกติที่กระทำความผิดแล้ว แต่พนักงานอัยการใช้ดุลพินิจสั่งไม่ฟ้อง วิทยานิพนธ์นี้ ได้ศึกษาหาแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเสนอให้ปรับปรุงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ประมวลกฎหมายอาญา และพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 ในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มาตรฐานทางกฎหมายสำหรับผู้ที่มีสภาพจิตไม่ปกติในการดำเนินคดีอาญา การรับโทษทางอาญา และการคุ้มครองสังคมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งยิ่งเป็นการคุ้มครองผู้ที่มีสภาพจิตไม่ปกติและคุ้มครองสังคมให้ปลอดภัยจากการกระทำความผิดของผู้ที่มีสภาพจิตไม่ปกติมากขึ้นด้วย
|
650 4 ^aสุขภาพจิต
|
650 4 ^aจิตผิดปกติ
|
650 4 ^aพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551
|
650 4 ^aวิธีพิจารณาความอาญา
|
650 4 ^aกฎหมายอาญา
|
650 4 ^aกระบวนการกำหนดโทษคดีอาญา
|
655 ^aวิทยานิพนธ์
|
700 0 ^aSakuna Kaonopparat
|
710 2 ^aจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ^bคณะนิติศาสตร์
|
856 40 ^3สารบัญ^uhttp://library.nhrc.or.th/ulib/document/Content/T07919.pdf
|
917 ^aCU :^c500
|
955 ^a1 เล่ม
|
999 ^acat1
|