LEADER : 00000nam 2200000uu 4500 |
008 131212s2547||||th m 000 0 tha d |
020 ^a9741771479 (hbk.)
|
050 4 ^aKPT2064.51997.Z9^bส327 2547
|
100 0 ^aสรภัทร สีระสาพร
|
245 10 ^aความสำคัญของคำประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมือง ค.ศ. 1789 ของฝรั่งเศสที่มีต่อบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 /^cสรภัทร สีระสาพร
|
246 3 ^aThe importance of the French declaration of the rights of man and citizen 1789 for the provisions concerning rights and liberties under the Constitution of the Kingdom of Thailand 1997
|
260 ^aกรุงเทพฯ :^bคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ^c2547.
|
300 ^aก-ฐ, 356 แผ่น ;^c30 ซม.
|
502 ^aวิทยานิพนธ์ (น.ม. นิติศาสตร์) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
|
520 ^aศึกษาที่มาและความสำคัญของคำประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมือง ค.ศ. 1789 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรับรองสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมือง โดยการศึกษาในเรื่องดังกล่าวได้ศึกษาในลักษณะวิเคราะห์เปรียบเทียบกับ บทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับต่างๆ โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 โดยอาศัยกรอบแนวคิดและหลักการที่สำคัญของคำประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมือง ค.ศ. 1789 เป็นแกนหลักในการวิเคราะห์เพราะต่างก็ล้วนมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน จำกัดการใช้อำนาจที่มิชอบของผู้ปกครอง ทั้งนี้เพื่อแสวงหาแนวคิดและมาตรฐานของหลักการ และทางปฏิบัติของการรับรองสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน ที่สามารถเชื่อมโยงกันได้ในบริบทของสังคมที่ต่างภูมิภาคกัน จากการศึกษาพบว่า ความสำคัญของคำประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมือง ค.ศ. 1789 ที่มีต่อบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้ปรากฏในรูปของแนวความคิดเกี่ยวกับสิทธิปัจเจกชนนิยม (Individualism) ลัทธิเสรีนิยม (Liberalism) สัญญาประชาคม (Social Contract) และความคิดเรื่องสิทธิทางการเมือง (Political Rights) บางประการ ที่สะท้อนให้เห็นในรูปของบทบัญญัติที่รับรองสิทธิเสรีภาพของบุคคลแต่ละคน และได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดที่ฝังรากลึกในระบอบรัฐธรรมนูญไทย มาตั้งแต่สมัยแรกเริ่ม อีกทั้งหลักการดังกล่าวยังได้รับการพัฒนาให้สอดคล้องกับสภาพการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการปฏิบัติตาม บทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของรัฐธรรมนูญ จะเห็นได้ว่า ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งคือ สัมพันธภาพทางอำนาจการเมืองการปกครอง อันเป็นต้นกำเนิดของรัฐธรรมนูญ ล้วนส่งผลทำให้ลักษณะของการรับรองสิทธิและเสรีภาพมีระดับที่แตกต่างกัน หรือในบางครั้งก็ไม่ปรากฏบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพอยู่เลย ดังนั้นประชาชนจะได้รับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพมากน้อยเพียงใด จำเป็นอย่างยิ่งที่กกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งทัศนคติของผู้ใช้อำนาจปกครอง จะต้องตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว และในส่วนของประชาชนเองจะต้องพยายามศึกษาและทำความเข้าใจ ในหลักสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของรัฐธรรมนูญ เพื่อให้สามารถปกป้องสิทธิและเสรีภาพของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
|
650 4 ^aสิทธิมนุษยชน^xกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ^zฝรั่งเศส
|
650 4 ^aสิทธิมนุษยชน^xกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ^zไทย
|
650 4 ^aรัฐธรรมนูญ^zไทย
|
650 4 ^aรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540
|
650 4 ^aสิทธิของพลเมือง
|
650 4 ^aคำประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมือง ค.ศ. 1789
|
653 4 ^aสิทธิพลเมือง
|
655 ^aวิทยานิพนธ์
|
700 0 ^aSorapat Sirasaporn
|
710 2 ^aจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ^bคณะนิติศาสตร์
|
856 40 ^3สารบัญ^uhttp://library.nhrc.or.th/ulib/document/Content/T07923.pdf
|
917 ^aCU :^c500
|
955 ^a1 เล่ม
|
999 ^acat1
|