LEADER : 00000nam 2200000uu 4500 |
008 131212s2550||||th m 000 0 tha d |
050 4 ^aBP190.5.H91^bส766 2550
|
100 0 ^aสุดปรารถนา นีละไพจิตร
|
245 10 ^aสิทธิมนุษยชนในอิสลามกับการรับรองสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย /^cสุดปรารถนา นีละไพจิตร
|
246 31 ^aHuman rights in Islam and the guarantee of rigths and liberties under the constitutions of Kingdom of Thailand
|
260 ^aกรุงเทพฯ :^bคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ^c2550.
|
300 ^aก-ฒ, 301 แผ่น ;^c30 ซม.
|
502 ^aวิทยานิพนธ์ (น.ม. นิติศาสตร์) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
|
520 ^aสิทธิมนุษยชน เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ซึ่งได้รับการรับรองโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และหลักคำสอนของศาสนาอิสลามเองก็กล่าวถึงสิทธิมนุษยชนด้วยเช่นกัน เบื้องต้นจึงสันนิษฐานได้ว่าหลักคำสอนของศาสนาอิสลามให้ความสำคัญกับการรับรองสิทธิมนุษยชนในลักษณะที่สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ซึ่งผลการศึกษาก็พบว่าศาสนาอิสลามเป็นอีกศาสนาหนึ่งที่มีหลักคำสอนเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน และกลุ่มประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามทั่วโลกก็ได้รวมตัวกันก่อตั้งองค์การอิสลาม หรือ O.I.C และบัญญัติปฏิญญาไคโรว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในอิสลาม ค.ศ. 1990 (The Cairo Declaration on Human Rights in Islam 1990 ) ขึ้น โดยสิทธิมนุษยชนที่บัญญัติในปฏิญญานี้ล้วนแต่สอดคล้องกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ. 1948 อาจมีส่วนที่ต่างกันบ้างแต่ก็เป็นเพียงรายละเอียดเท่านั้น สำหรับการรับรองสิทธิเสรีภาพของมุสลิมในประเทศไทยเห็นว่า แม้หลักสิทธิมนุษยชนตามหลักศาสนาอิสลามจะคล้ายคลึงกับสิทธิเสรีภาพที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแต่จำต้องมีการตรากฎหมายลำดับรองเพื่อให้การรับรองสิทธิเสรีภาพด้านต่าง ๆ สัมฤทธิ์ผลตามหลักศาสนาอิสลามได้ซึ่งปัจจุบันมีพระราชบัญญัติมารับรองเพื่อให้สิทธิเสรีภาพในการดำเนินชีวิตและปฏิบัติศาสนกิจตามหลักศาสนาอิสลามได้รับความคุ้มครองอย่างจริงจังโดยมีการตรากฎหมายเฉพาะเรื่อง 4 ฉบับด้วยกัน ทั้งนี้จากการศึกษาพบว่าหลักสิทธิมนุษยชนในศาสนาอิสลามซึ่งมีความสอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนของตะวันตกสามารถนำมาปรับใช้กับสังคมไทยได้เนื่องจากสังคมไทยเป็นสังคมแบบพหุวัฒนธรรม โดยเฉพาะในพื้นที่สี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกจากนี้ยังสามารถการนำหลักชะรีอะฮ์หรือแนวทางการดำเนินชีวิตตามครรลองของศาสนาอิสลามมาใช้ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ อาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยใช้วิธีการจัดการความขัดแย้งเชิงสมานฉันท์ในชุมชนมุสลิมเป็นกระบวนการยุติธรรมทางเลือก เนื่องจากหากเข้าใจหลักการและแนวคิดทางศาสนาแล้วจะเห็นว่าสอดคล้องและนำมาใช้ในสังคมไทยได้เป็นอย่างดี.
|
650 4 ^aสิทธิมนุษยชน^zไทย
|
650 4 ^aศาสนาอิสลาม^zไทย
|
650 4 ^aสิทธิมนุษยชน^xกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ^zไทย
|
650 4 ^aกฎหมายรัฐธรรมนูญ^zไทย
|
650 4 ^aสิทธิมนุษยชน^xแง่ศาสนา
|
655 4 ^aวิทยานิพนธ์
|
700 0 ^aSudprathana Neelapaichit
|
710 2 ^aจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ^bคณะนิติศาสตร์
|
856 40 ^3สารบัญ^uhttp://library.nhrc.or.th/ulib/document/Content/T07907.pdf
|
917 ^aCU :^c500
|
955 ^a1 เล่ม
|
999 ^acat1
|